ความหมายของเทคโนโลยี
คำว่า เทคโนโลยี มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
ชาร์ลส์ เอฟ. โฮบาน (Charles F. Hoban 1965 : 124) ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีว่า มิใช่คน
หรือเครื่องจักร แต่เป็นการจัดระเบียบอันมีบูรณาการและความสลับซับซ้อนของความคิด
คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V. Good 1973 : 592) ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลย
ีในพจนานุกรมการศึกษาว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการศึกษาต่าง ๆ หรือ
มาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
เอคการ์ เดล (Edgar Dale 1957 : 610) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ในหนังสือ
Audio - Visual Method in Teaching ว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการวิธีการทำงาน
อย่างมีระบบ
ก่อศักดิ์ สวัสดิพาณิชย์ (2517 : 83) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
มาใช้ในวงการศึกษาต่าง ๆ หรือมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520 : 35) ได้เขียนไว้ในหนังสือมิติที่ 3 ว่า ตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษ
เทคโนโลยี หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ ซึ่งอยู่ในรูปของการจัดระบบงานด้วยองค์ 3 คือ 1. ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2. กระบวนการ ได้แก่ การลงมือแก้ปัญหา แจกแจงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
3. ผลลัพธ์ คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาและทำการประเมินผล
ดังนั้น "เทคโนโลยี" หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือ
ประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ เช่น
- เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
- เทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical Technology)
- เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
- เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology)
- เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)
- เทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Engineering Technology)
- เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)
- เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน
ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการศึกษา
มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Program Instruction) เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ
ข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบัน
ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)
นวัตกรรมเป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ ดังแผนภูมิต่อไปนี้
คำว่า เทคโนโลยี มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
ชาร์ลส์ เอฟ. โฮบาน (Charles F. Hoban 1965 : 124) ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีว่า มิใช่คน
หรือเครื่องจักร แต่เป็นการจัดระเบียบอันมีบูรณาการและความสลับซับซ้อนของความคิด
คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V. Good 1973 : 592) ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลย
ีในพจนานุกรมการศึกษาว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการศึกษาต่าง ๆ หรือ
มาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
เอคการ์ เดล (Edgar Dale 1957 : 610) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ในหนังสือ
Audio - Visual Method in Teaching ว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการวิธีการทำงาน
อย่างมีระบบ
ก่อศักดิ์ สวัสดิพาณิชย์ (2517 : 83) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
มาใช้ในวงการศึกษาต่าง ๆ หรือมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520 : 35) ได้เขียนไว้ในหนังสือมิติที่ 3 ว่า ตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษ
เทคโนโลยี หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ ซึ่งอยู่ในรูปของการจัดระบบงานด้วยองค์ 3 คือ 1. ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2. กระบวนการ ได้แก่ การลงมือแก้ปัญหา แจกแจงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
3. ผลลัพธ์ คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาและทำการประเมินผล
ดังนั้น "เทคโนโลยี" หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือ
ประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ เช่น
- เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
- เทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical Technology)
- เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
- เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology)
- เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)
- เทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Engineering Technology)
- เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)
- เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน
ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการศึกษา
มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Program Instruction) เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ
ข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบัน
ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)
นวัตกรรมเป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ ดังแผนภูมิต่อไปนี้
จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
ความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรมนั้นก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีขึ้นมาทันที
โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
ความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรมนั้นก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีขึ้นมาทันที
ปัญหาและอุปสรรคทางการศึกษา
การพัฒนาการศึกษา มีปัญหาและอุปสรรคสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ปัญหาบุคคล ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน
2. ปัญหาเครื่องมือ ได้แก่ ศักยภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือสื่อการศึกษา
3. ปัญหางบประมาณ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือการบริหารงานการศึกษา
4. ปัญหาวิธีการ ได้แก่ วิธีการหรือช่องทางที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาการศึกษา มีปัญหาและอุปสรรคสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ปัญหาบุคคล ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน
2. ปัญหาเครื่องมือ ได้แก่ ศักยภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือสื่อการศึกษา
3. ปัญหางบประมาณ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือการบริหารงานการศึกษา
4. ปัญหาวิธีการ ได้แก่ วิธีการหรือช่องทางที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์
มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับของเทคโนโลยีทางการศึกษา
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา ต้องอาศัยหลักจิตวิทยาเป็นพื้นฐานสำคัญ
เทคโนโลยีทางการศึกษาแบ่งออกได้ 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู (Teacher's Aid)
เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน การใช้เทคโนโลยีระดับนี้ จะต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลา
2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่
แห่งเดียวกับผู้สอนเสมอไป การใช้เทคโนโลยีระดับนี้บทบาทของครูต่อหน้าผู้เรียนลดลง ข้อดีในแง่การจัดกิจกรรม
การใช้เครื่องมือ ข้อเสีย คือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน
3. ระดับการจัดระบบการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษา
ตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา
สื่อการศึกษา เป็นต้น
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์
มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับของเทคโนโลยีทางการศึกษา
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา ต้องอาศัยหลักจิตวิทยาเป็นพื้นฐานสำคัญ
เทคโนโลยีทางการศึกษาแบ่งออกได้ 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู (Teacher's Aid)
เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน การใช้เทคโนโลยีระดับนี้ จะต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลา
2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่
แห่งเดียวกับผู้สอนเสมอไป การใช้เทคโนโลยีระดับนี้บทบาทของครูต่อหน้าผู้เรียนลดลง ข้อดีในแง่การจัดกิจกรรม
การใช้เครื่องมือ ข้อเสีย คือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน
3. ระดับการจัดระบบการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษา
ตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา
สื่อการศึกษา เป็นต้น
บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้า วิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะ หรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย
6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบ การจัดการศึกษาพิเศษ
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้า วิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะ หรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย
6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบ การจัดการศึกษาพิเศษ
สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในทางการศึกษา
กระบวนการให้การศึกษาปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ พอสรุปได้ 3 ประการ คือ
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู
สื่อการสอน เป็นต้น ทำให้การจัดการศึกษาไม่ทั่วถึง นักการศึกษาได้เสนอแนวทางในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
เช่น โทรทัศน์การสอน (Instructional T.V.) ชุดการสอน (Instruction Package) เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากรโดยตรง ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ
การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม
ทำให้พบวิทยากรใหม่ ๆ ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือ
และวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทย
ปัญหาและสภาพการศึกษาไทยในอดีตย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะ
ปัญหาการด้อยคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งประมวลได้ 3 ประการ คือ
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
คนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง ในสภาพการเรียนการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลาง
ทำให้ผู้เรียนเกิดปมด้อย ขาดความเชื่อมั่น การจัดการศึกษาควรให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลาง
2. การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
ในอดีตหลักสูตรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่ไม่เอื้อต่อผู้เรียนในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ
การจัดการศึกษาควรสนองความต้องการของคนแต่ละภาคเพื่อให้เขาได้ชื่นชมกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการไม่ยอมรับความสามารถ
ของคนไทยด้วยกันเองด้วย
3. การขาดทักษะที่พึงประสงค์
มนุษย์เกิดมาภายใต้อิทธิพลของพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมลักษณะที่ไม่ดีต่าง ๆ เช่น ความโลภ ความเห็นแก่ตัว
ของมนุษย์ การศึกษาที่จัดอย่างเป็นระบบจะทำให้คนมีคุณภาพและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสม การศึกษาในระบบเดิม นอกจากไม่สามารถลดปริมาณสันดานดิบของผู้เรียนลงได้แล้ว ยังมีผลต่อเนื่องให้ผู้สำเร็จการศึกษา
ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ประการ คือ
3.1 กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
3.2 สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
3.3 รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ
3.4 รู้จักแสวงความรู้เอง
3.5 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
กระบวนการให้การศึกษาปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ พอสรุปได้ 3 ประการ คือ
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู
สื่อการสอน เป็นต้น ทำให้การจัดการศึกษาไม่ทั่วถึง นักการศึกษาได้เสนอแนวทางในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
เช่น โทรทัศน์การสอน (Instructional T.V.) ชุดการสอน (Instruction Package) เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากรโดยตรง ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ
การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม
ทำให้พบวิทยากรใหม่ ๆ ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือ
และวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทย
ปัญหาและสภาพการศึกษาไทยในอดีตย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะ
ปัญหาการด้อยคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งประมวลได้ 3 ประการ คือ
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
คนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง ในสภาพการเรียนการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลาง
ทำให้ผู้เรียนเกิดปมด้อย ขาดความเชื่อมั่น การจัดการศึกษาควรให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลาง
2. การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
ในอดีตหลักสูตรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่ไม่เอื้อต่อผู้เรียนในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ
การจัดการศึกษาควรสนองความต้องการของคนแต่ละภาคเพื่อให้เขาได้ชื่นชมกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการไม่ยอมรับความสามารถ
ของคนไทยด้วยกันเองด้วย
3. การขาดทักษะที่พึงประสงค์
มนุษย์เกิดมาภายใต้อิทธิพลของพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมลักษณะที่ไม่ดีต่าง ๆ เช่น ความโลภ ความเห็นแก่ตัว
ของมนุษย์ การศึกษาที่จัดอย่างเป็นระบบจะทำให้คนมีคุณภาพและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสม การศึกษาในระบบเดิม นอกจากไม่สามารถลดปริมาณสันดานดิบของผู้เรียนลงได้แล้ว ยังมีผลต่อเนื่องให้ผู้สำเร็จการศึกษา
ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ประการ คือ
3.1 กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
3.2 สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
3.3 รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ
3.4 รู้จักแสวงความรู้เอง
3.5 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ที่มา: http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/elearning_files/data1.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น